วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

6 เทคนิคการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ในแนวตั้ง

มาดูเทคนิค การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในแนวตั้ง ก้นบ้าง เพื่อเตรียมตัวไว้สำหรับการออกไปถ่ายภาพท่องเที่ยวปีใหม่กัน แนวทางการถ่ายภาพจะแตกต่างไปจากการจัดองค์ประกอบภาพในแนวนอนบ้าง
Moraine Lake, Alberta Canada (1997). Nikon F601, Nikkor 24mm, f/16, (shutter speed unknown), Fuji Velvia and most importantly, Lee 3 stop GND filter.  
ทำไมต้องแนวตั้ง
เหตุผลแรกคือง่ายสำหรับการเรียนรู้ ในกรณีมือใหม่ ภาพข้างบนนี้เป็น Rule Of Third ง่ายๆ ทั่วไป
เหตุผลที่สองคือ ภาพดูมีความเคลื่อนไหวมากกว่า
เหตุผลที่สามคือ ภาพแนวตั้งในแง่ธุรกิจแล้วจะขายดีกว่า

Mount Egmont New Zealand. Canon 5d mkii, Canon 17-40mm f/4 ultra-wide, Marumi polarizer. 17 mm, f/16, 1 sec, ISO100.
1. ถ่ายจากมุมต่ำๆและให้ใกล้ๆ ภาพนี้ท้องฟ้าเป็นเพียง 1 ใน 3 ของภาพเท่านั้นเอง ถ่ายเน้นต้นหญ้าเข้าไปให้ใกล้ชิดทำให้ภาพมีแรงดึงดูดน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

2. ถ่ายจากมุมสูงๆ ใช้เลนส์ Wide เพื่อเก็บภาพให้ดูมีมิติแปลกตา
Lupine flowers, Mackenzie basin New Zealand (by Sarah Sisson). Canon 5d mkii, Canon 17-40mm f/4 ultra-wide, Marumi polarizer. 17 mm, f/16, 1/8th sec, ISO100 
3. แยกส่วนภาพออกให้ชัดเจน หน้า-กลาง-หลัง ท้าทายกฏ 3 ส่วน
Lake Pukaki New Zealand. Nikon D800e, Nikkor 17-35mm f/2.8 ultra-wide lens, Marumi Polarizer and Singh Ray 3 stop GND filter.
4. ทิ้งช่องว่างเหลือไว้บ้าง ภาพนี้แหกกฎ 3 ส่วนบ้าง ทิ้งช่องว่างบนท้องฟ้าเอาไว้ให้ Graphic Designer วางตัวหนังสือไว้ตำแหน่งเด่นๆหน่อย
Lone cabbage tree, Taranaki New Zealand. Nikon D7000, Nikkor 16-85mm DX, Marumi Polarizer. 35 mm, f/11, 1/20h, ISO100.
5. ถ่ายภาพด้วยเลนส์ Tele ดูบ้าง ภาพที่ผ่านๆมาเป็นภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ Wide ทั้งสิ้น ให้ลองเปลี่ยนมาใช้เลนส์ Tele ดูบ้างก็ได้มิติที่แปลกตาออกไปเช่นก้น
The road to Mount Cook New Zealand. Nikon D7000, Nikkor 70-200mm f/2.8 Vrii, Marumi Polarizer. 135 mm (202mm 35mm equivalent), f/11, 1/15h, ISO100.
6. ใช้ L Bracket คืออุปกรณ์เสริมเอาไว้สำหรับเปลี่ยนกล้องจากแนวตั้งไปเป็นแนวนอน โดยที่ไม่ต้องไปปรับที่ขาตั้งกล้อง และตำแหน่งภาพที่จัดมุมเอาไว้ก็ไม่เปลี่ยนด้วย เป็นอุปกรณ์ที่นักถ่ายภาพแนววิวทิวทัศน์นิยมใช้กันมาก หาซื้อได้ตามร้านค้าอุปกรณ์กล้องทั่วไป ถ้าไม่มีก็ Ebay Amazon

 
สรุปคือ ถ่ายภาพไม่จำต้องยึดในเรื่องกฎ 3 ส่วนหรือ จุดตัด 9 ช่องอะไรให้มากนัก ถ้าถ่ายแล้วภาพม้นออกมาให้มิติที่น่าสนใจก็สามารถแหกกฏกันได้นะ


วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ถ่ายด้วย Slow Sync Flash

Slow Sync Flash เป็นเทคนิคการถ่ายภาพแฟลช ที่เล่นกับชัตเตอร์สปีด และแฟลช ให้ผลออกมาแปลกตา ตัวอย่างจากบทความของ Darren Rowse ที่รวบรวมมา

เทคนิคการถ่าย Slow sync คือสั่งให้แฟลชยิงแสงออกไปช้าหรือเร็วกว่าปกติ ในกล้องถ่ายภาพจะมีม่านชัตเตอร์อยู่ 2 ชุด
การสั่งให้แฟลชทำงานสัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์อันแรก คือ เมื่อม่านชัตเตอร์อันแรกเปิดออกแฟลชจะยิงแสงออกไปที่วัตถุ และรอจนกระทั่งครบกำหนดที่เราตั้งความเร็วชัตเตอร์เอาไว้ ม่านชุดที่สองก็จะปิดรับการรับแสงธรรมชาติ

การสั่งให้แฟลชทำงานสัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์อันที่สอง คือ ม่านชัตเตอร์อันแรก เปิดรับแสงจากธรรมชาติค้างอยู่ เมื่อครบเวลาที่เราตั้งสปีดชัตเตอร์เอาไว้ ก่อนที่ม่านชัตเตอร์อันที่สองจะเด้งมาปิด แฟลชจะยิงแสงออกมาจับวัตถุ

จากภาพตัวอย่าง ม่านชัตเตอร์แรก เปิดรับแสงธรรมชาติตั้งแต่ ตำแหน่งที่มีดอยู่จุดสูงสุด เมื่อมีดตัดลูกแอปเปิ้ลแล้ว แฟลชยิงแสงออกมา และม่านชัตเตอร์อันที่สองก็ดีดมาปิด

บางภาพอาจต้องใช้ขาตั้งกล้อง บางภาพอาจไม่จำเป็นก็ได้ ส่วนภาพไหนจะใช้ ม่านชัตเตอร์แรก หรือม่านชัตเตอร์อันที่สอง ต้องลองทดสอบถ่ายดู
ตัวอย่างการตั้งค่ากล้อง
http://www.exposureguide.com
http://www.exposureguide.com