วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

กล้อง Full-Frame กับ Crop Sensor

กล้องราคาแพงๆทั้งหลาย เช่น Canon 5D MarkII หรือ Nikon D3S พวกนี้จะเป็น Full Frame คือมี Sensor รับแสงที่จะผลิตเป็นเม็ด Pixel เท่ากับ 35 mm เท่ากับมาตรฐานกล้องฟิลม์ในอดีต

 ตัวอย่าง เอามาจาก wiki pedia
ภาพแสดงการเปรียบเทียบขนาดของ Sensor ในกล้องยี่ห้อต่างๆ โดยกล้องที่มี Sensor ขนาดเล็กกว่า full frame จะมีชื่อเรียกต่างๆกันไป บางครั้งก็เรียกว่ากล้องตัวคูณ บางคนก็เรียกว่า Crop Sensor แต่ควรเรียกเป็น APS-C มากกว่า ดูตารางขนาด Sensor รุ่นต่างๆของ Canon 

ข้อได้เปรียบของ Full frame 
  1. ในสภาพที่แสงน้อย กล้อง Full frame จะมี Noise น้อยกว่ากล้อง Crop sensor
  2. ชัดลึก-ชัดตื้น depth of field กล้อง full frame จะทำชัดตื้นได้ดีกว่า
  3. กล้อง full frame ช่องมองภาพ Viewfinder จะสว่างกว่า เพราะเลนส์มีขนาดใหญ่กว่า
  4. กล้อง full frame ทำ body ดีกว่ากล้อง Crop sensor
  5. เมื่อคุณใช้ Wide lens หรือ Zoom Lensจะได้ภาพตาม spec เลนส์ทุกประการ แต่ถ้าเป็นกล้องตัวคูณภาพที่ได้จะเปลี่ยนไปเช่นใช้ Wide Lens 10 mm จะเหมือนคุณถ่ายด้วย Lens 16 mm หรือใช้ Zoom Lens 200 mm จะเหมือนคุณถ่ายด้วย Lens 320 mm

เอาไว้เป็นข้อมูล ถ้าจะเลือกซื้อกล้องคราวหน้า กล้องถูกแต่เลนส์แพง กล้องแพงกับเลนส์ถูก ระวังจะเจอกล้องแพง เลนส์แพง แต่ไม่แมทช์กันฝรั่งบ่นๆกันก็มี

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

การอ่าน Histogram เบื้องต้น

Histogram กับกล้อง Digital เป็นของคู่กัน ตากล้องมือใหม่อย่างเราต้องรู้ให้ได้ว่ามันคืออะไร :)

จากภาพตัวอย่าง (เอามาจาก http://makeuseof.com) ถ้าเราวัดแสงที่ตัวอาคาร ท้องฟ้าจะเกิดอาการ Overexpose สว่างจ้าจนมองรายละเอียดไม่ได้ เส้นกราฟใน Histogram จะเทไปทางด้านขวามือจนล้น

แต่ถ้าเป็นดังรูปนี้ เส้นกราฟจะเทไปทางด้านซ้ายมือจนล้นเต็มก็จะ Underexpose


รูปนี้ Histogram จะไม่เทล้นไปด้านใดด้านหนึ่ง จึงจะถือว่าสมบูรณ์ ถูกต้อง ได้รายละเอียดครบเท่าที่จะเก็บได้ ทั้งในที่สว่างและที่มืด แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป ต้องขึ้นอยู่กับภาพด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร และไม่แน่เสมอไปว่ากราฟจะออกมาในรูปแบบนี้ทั้งหมด

จากรูปแรกเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้สมดุลย์กันทั้งภาพ เพราะถ้าเราลองวัดแสงที่ท้ืองฟ้า ตัวอาคารก็จะมืด ขาดรายละเอียดไป แต่ได้ท้องฟ้าสวยงามอย่างที่เราต้องการ ดั้งนั้นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วมาปรับแก้เอาในโปรแกรมทีหลัง หรือจะใช้วิธีถ่ายซ้ำกันหลายๆภาพ เช่นวัดแสงที่ท้องฟ้ารูปนึง วัดแสงที่ตัวอาคารรูปนึง วัดแสงที่ถนนรูปนึงแล้วเอามาซ้อนให้เป็นภาพเดียวกันด้วยวิธี HDR



บางที Histogram อาจจะ Clip คือล้นเกินขอบ Histogram ไปบ้างอย่างรูปนี้ ถือเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าภาพโดยรวมออกมาดูดีเป็นใช้ได้ เช่นจากรูป ท้องฟ้าอาจจะมีสว่างไปนิด หรือ ดอกไม้อาจจะมีบางส่วนมืดไปบ้าง


หรือภาพนี้แสงออกมาพอดีไม่มีล้นเกินทั้งซ้ายและขวา กราฟไม่ได้จับกลุ่มกันอยู่ตรงกลาง เป็นรูประฆังคว่ำ แต่กระจายตัวเต็มพื้นที่ก็ถือว่าใช้ได้ และแสดงว่าภาพนี้ Contrast จัด

สรุปคือว่าการดู Histogram ไม่ใช่แปลว่าจะได้ภาพสมบูรณ์แบบ 100% แต่ก็ช่วยเป็นไกด์นำทางให้เราได้ หรือในที่ๆมีแสงแดดจัดๆ เรามองภาพในมอนิเตอร์ไม่ชัดเจน ก็ใช้ Histogram ดูพอเป็นสังเขปได้

Thank you http://www.makeuseof.com