วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

การอ่าน Histogram เบื้องต้น

Histogram กับกล้อง Digital เป็นของคู่กัน ตากล้องมือใหม่อย่างเราต้องรู้ให้ได้ว่ามันคืออะไร :)

จากภาพตัวอย่าง (เอามาจาก http://makeuseof.com) ถ้าเราวัดแสงที่ตัวอาคาร ท้องฟ้าจะเกิดอาการ Overexpose สว่างจ้าจนมองรายละเอียดไม่ได้ เส้นกราฟใน Histogram จะเทไปทางด้านขวามือจนล้น

แต่ถ้าเป็นดังรูปนี้ เส้นกราฟจะเทไปทางด้านซ้ายมือจนล้นเต็มก็จะ Underexpose


รูปนี้ Histogram จะไม่เทล้นไปด้านใดด้านหนึ่ง จึงจะถือว่าสมบูรณ์ ถูกต้อง ได้รายละเอียดครบเท่าที่จะเก็บได้ ทั้งในที่สว่างและที่มืด แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป ต้องขึ้นอยู่กับภาพด้วยว่ามีลักษณะอย่างไร และไม่แน่เสมอไปว่ากราฟจะออกมาในรูปแบบนี้ทั้งหมด

จากรูปแรกเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้สมดุลย์กันทั้งภาพ เพราะถ้าเราลองวัดแสงที่ท้ืองฟ้า ตัวอาคารก็จะมืด ขาดรายละเอียดไป แต่ได้ท้องฟ้าสวยงามอย่างที่เราต้องการ ดั้งนั้นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วมาปรับแก้เอาในโปรแกรมทีหลัง หรือจะใช้วิธีถ่ายซ้ำกันหลายๆภาพ เช่นวัดแสงที่ท้องฟ้ารูปนึง วัดแสงที่ตัวอาคารรูปนึง วัดแสงที่ถนนรูปนึงแล้วเอามาซ้อนให้เป็นภาพเดียวกันด้วยวิธี HDR



บางที Histogram อาจจะ Clip คือล้นเกินขอบ Histogram ไปบ้างอย่างรูปนี้ ถือเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าภาพโดยรวมออกมาดูดีเป็นใช้ได้ เช่นจากรูป ท้องฟ้าอาจจะมีสว่างไปนิด หรือ ดอกไม้อาจจะมีบางส่วนมืดไปบ้าง


หรือภาพนี้แสงออกมาพอดีไม่มีล้นเกินทั้งซ้ายและขวา กราฟไม่ได้จับกลุ่มกันอยู่ตรงกลาง เป็นรูประฆังคว่ำ แต่กระจายตัวเต็มพื้นที่ก็ถือว่าใช้ได้ และแสดงว่าภาพนี้ Contrast จัด

สรุปคือว่าการดู Histogram ไม่ใช่แปลว่าจะได้ภาพสมบูรณ์แบบ 100% แต่ก็ช่วยเป็นไกด์นำทางให้เราได้ หรือในที่ๆมีแสงแดดจัดๆ เรามองภาพในมอนิเตอร์ไม่ชัดเจน ก็ใช้ Histogram ดูพอเป็นสังเขปได้

Thank you http://www.makeuseof.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น