วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

Travel Photography กับการใช้ Histogram

นักถ่ายภาพแนว Travel Photography (สะพายกล้องท่องเมือง) มักจะใช้เทคนิคตั้งกล้องไว้ในโหมด AV หรือ TV หรือไม่ก็ Full Auto เลย เมื่อถ่ายภาพเสร็จก็ดูที่จอมอนิเตอร์หลังกล้องว่าใช้ได้ไหม ไม่ผ่านก็ถ่ายใหม่ ถ้าออกมาสวยดูดีก็ผ่าน แต่เมื่อกลับมาบ้านเปิดดูด้วยคอมพิวเตอร์ปรากฏว่า ภาพสั่นไหวบ้าง มืดบ้าง สว่างบ้าง เสียหายครับ มี 2 อย่างที่ต้องจำไว้คือ
1) อย่าไว้ใจ LCD หลังกล้องคุณ
2) ใช้ Histogram เข้าช่วย
(แปลบางส่วนจากบทความ Travel Photography : matadornetwork.com)

นักถ่ายภาพแนว Travel Photography บางทีเรียก Street Photography จำเป็นจะต้องพร้อมเสมอที่จะถ่ายภาพตลอดเวลา ในขณะที่เดินท่องเที่ยวไปยังที่ต่างๆทั่วไป ดูสภาพคล้ายนักท่องเที่ยว แต่จริงๆแล้ว พวกเขาแตกต่างมากๆ เรียกว่าต้องครบเครื่อง ทั้งทฤษฎีถ่ายภาพ ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ไหวพริบจังหวะ ความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์ สำหรับผมแล้ว ช่างภาพแนวนี้ฝีมือที่สุด 
 Histogram คืออุปกรณ์สุดยอดของกล้องดิจิตอล ช่วยให้เรสามารถดูได้ว่าภาพของเรามีอะไรบกพร่องหรือไม่ Histogram เป็นกราฟ 5 แถว
| ดำมาก | ดำ | เทากลาง | ขาว | ขาวมาก |
เทากลางนั่นใกล้เคียง 18% Gray ซึ่งภาพที่ดีนั้นควรจะมีข้อมูลแสดงในกราฟกระจายตลอดทุกช่วง

ภาพที่การเปิดรับแสงอย่างถูกต้องควรมีลักษณะกราฟแบบนี้ แต่ไม่เสมอไปนะ มีข้อยกเว้นในภาพบางประเภท แต่ส่วนใหญ่แล้วควรมีลักษณะแบบนี้
ภาพนี้เปิดรับแสงน้อยเกินไป หรือเป็นการถ่ายภาพในเวลากลางคืน

ภาพนี้อาจจะเปิดรับแสงมากเกินไป หรือภาพเป็นสีขาวโพลน

ภาพนี้กราฟเทเอียงไปทางซ้าย ภาพควรจะเป็น Under หรือมืดเกินไป แต่ถ้าดูภาพประกอบแล้ว ผู้ถ่ายภาพต้องการให้โทนภาพโดยรวมออกมาแบบนี้ ภาพนี้ก็ถือว่าผ่านใช้ได้

กรณีที่เป็นภาพทั่วๆไป
1) กราฟเอียงไปทางซ้าย
  • ภาพน่าจะมืดเกินไป อาจเป็นเพราะไปวัดแสงในตำแหน่งที่สว่างมากๆ (เอาจุดศูนย์กลางของช่องมองภาพเล็งไปตรงที่สว่างๆ) ทำให้กล้องคิดว่าต้องลดการรับแสงลงมา เพื่อไม่ให้ภาพสว่างมากเกินไป
  • ทางแก้ไขคือ วัดแสงในบริเวณที่มีแสงปานกลาง เพิ่มขนาดรูรับแสง ลดสปีดชัตเตอร์ลงมา ถ้าทำไม่ได้ให้เพิ่ม ISO หรือต้องทำทั้งหมด
  • ยกเว้นภาพในตอนกลางคืน ภาพแสงดาว ภาพวัตถุสีดำทั้งหลาย หรือตัวอย่างภาพด้านบน จงใจให้ภาพออกมาในลักษณะนั้น
 2) กรณีที่กราฟเอียงไปทางขวา
  • ภาพจะสว่างมากเกินไป เป็นเพราะไปวัดแสงในบริเวณตำแหน่งที่มืด กล้องจึงคิดว่าต้องเพิ่มการรับแสงให้มากขึ้นภาพขึงออกมาสว่างมากเกินไป
  • ทางแก้คือ พยายามวัดแสงในตำแหน่งที่กลางๆ (Midtone) จะดีที่สุด เพื่อลดชัตเตอร์สปีดลงมา ลดขนาดรูรับแสง และ ISO 
  • ยกเว้นภาพพวกหิมะ หาดทรายขาว อาคารสีขาว ภาพแนว High Key ฯ
3) กราฟทะลุด้านใดด้านหนึ่ง
  • เซียนเรียกว่า Clip ถ้าเอียงไปทางขวาจนทะลุ ในจอ LCD กระพริบๆ (High Light Alert) แปลว่าภาพขาวมากเสียจนไม่มีรายละเอียดข้อมูลอะไรเลย ถ้าเอียงไปทางซ้ายก็เช่นเดียวกันคือดำเสียจนไม่มีรายละเอียด และไม่สามารถกู้รายละเอียดได้ด้วย Software
  • ทางแก้ไข ปรับค่าการรับแสงของกล้องทั้งหมดเพิ่มขึ้นหรือลดลง จนกว่าจะหาย Clip
4) กราฟทะลุทั้งสองด้าน
  • ในภาพมีทั้งที่มืดมากและสว่างมากเกินไป หาได้ยาก แต่มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้
  • ทางแก้คือ ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง ในภาพที่คุณต้องการจะสื่อถ่ายทอดออกมา  บางทีอาจต้องถ่ายออกมาทั้ง 2 แบบเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ต้องการ
Histogram จะบอกคุณได้อย่างไรว่า ภาพที่คุณถ่ายออกมานั้นเปิดรับแสงได้ดีที่สุดแล้ว
  • กราฟทรงภูเขา เซียนบางคนเรียกว่าระฆังคว่ำ กราฟทรงนี้ดูง่ายที่สุด สภาพแสงในยามเช้า-เย็น-หรือสว่างสดใส
  • กราฟสูงโด่ง แปลว่ามีเม็ดสี (pixel) เป็นจำนวนมาก มีรายละเอียดเยอะ
  • กราฟสม่ำเสมอ ไม่เป็นภูเขา ระฆังคว่ำก็ขอให้มีเส้นกราฟทอดยาวตลอดแนวของ Histogram คือมีข้อมูลอยู่ในทุกช่วงของกราฟก็คือว่าใช้ได้
  • ไม่มี Clipping ก็คือกราฟไม่ทะลุไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • กราฟไม่สูงโด่งอยู่ตรงกลางไม่มีข้อมูลทางด้านสีดำ หรือสีขาวเลยแม้แต่น้อย
Thank you for This Article and Picture from  matadornetwork

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น