วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพคอนเสิร์ต รวบรวม Tips

การถ่ายภาพคอนเสิร์ต เป็นแนวที่ท้าทายตากล้องมือใหม่อย่างมาก อันนี้เป็นการรวบรวมเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปใช้ทดสอบฝีมือของเรา แปลความบางส่วนมาจาก Concert Photography การถ่ายภาพคอนเสิร์ตบางทีเราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง แสง ตัวแบบ แถมยังมีคนดูรอบๆข้างเราอีก
IMG_1693.jpg

สำหรับมือใหม่เขาแนะนำให้ไปหาเพื่อนฝูงที่เป็นวงดนตรีอยู่ อาจจะเป็นใน Pub ก็ได้ แล้วขอเขาไปถ่ายรูป อันนี้จะทำให้ได้ประสบการณ์อย่างมาก
อุปกรณ์ที่ใช้ สำคัญมากสำหรับตากล้องระดับมืออาชีพจะใช้ Tele Zoom ราคาแพงๆ แต่สำหรับมือใหม่อย่างเราใช้ เลนส์ Kit ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ถ้าเลือกได้ควรเลือกเลนส์ที่สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างๆ เช่น f/2.8, f/1.8, f/1.4 และกล้องที่ถ่ายใน ISO สูงๆโดยที่ไม่มี Noise มาก
IMG_5022.jpg
ในการแสดงของวงดนตรีแนวร็อคหรือแดนซ์ เราอาจต้องใช้ชัตเตอร์ สปีดสูงๆ เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของนักดนตรี นักเต้นที่เคลื่นไหวไปมาอยู่โดยตลอด ผู้เขียนบทความนี้ใช้ Canon 350D บ่อยๆเมื่อใช้ ISO สูงๆจะเกิด noise มากและดัน ISO เกินกว่า 1600 ไม่ได้ และไม่มี Zoom ที่โฟกัสเร็วๆด้วย

แม้ว่าการใช้ ISO สูงๆจะทำให้เกิด noise ก็ตามแต่ก็จำเป็น ซึ่งเราสามารถใช้โปรแกรมจัดการกับ noise ได้ในภายหลัง ดีกว่าได้ภาพเบลอๆกลับบ้าน เพราะต้องลดชัตเตอร์สปีดลงให้ต่ำๆ
ตั้งค่าแสงให้ถูกต้อง สิ่งที่ยากที่สุดในการถ่ายภาพแบบนี้คือ วัดแสงยากมาก แสงไฟบนเวทีจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ควรจับจังหวะให้ดี เช่นเมื่อมีสปอต์ไลท์ยิงมาที่ตัวนักร้อง ก็จะทำให้เราสามารถวัดแสงได้ถนัดหน่อย เช็ค Histogram ตลอดเวลา และดูด้วยว่าเกิด Over หรือไม่ โดยเจาะจงไปที่เป้าหมายที่เราจะถ่ายในแต่ละเฟรม เพราะมอนิเตอร์หลังกล้องก็ดูภาพออกมาดี แต่พอไปเปิดภาพดูบนจอที่บ้าน มักจะมืดไป สว่างไป เราจึงต้องพึ่ง Histogram เป็นหลัก และควรถ่ายภาพคร่อมเอาไว้เสมอเช่น + - 1 stop เพื่อกันพลาด (มือโปรด้านนี้ บอกว่าควรยิงทีละ 3 ช็อตติดต่อกัน แล้วไปคัดภาพเอาที่คมชัด สวยที่สุด)
ไม่ควรใช้แฟลช เพราะคุณอยู่ห่างจากเวทีมาก แสงแฟลชไม่มีผลอะไรเลย ดังนั้นให้ปิดแฟลชเสีย ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ใกล้ๆเวทีก็ตาม แสงแฟลชจะทำให้ background ด้านหลังของตัวแบบมืด ทำให้ฉากหลังไม่สวย แต่ถ้าต้องการจะหยุดการเคลื่อนไหวด้วยการยิงแฟลช ก็ควรวัดแสงฉากหลัง ด้วยเทคนิคที่ใช้กับการถ่ายภาพบุคคลในเวลากลางคืน ระวังด้วย เมื่อแสงแฟลชยิงไปตรงๆจะทำให้ภาพแข็ง แบน จะใช้แผ่นสะท้อนแฟลชช่วยก็ได้ เพราะคุณไม่สามารถสะท้อนแฟลชไปยังเพดานได้ ในสถานที่แบบนั้น
การยิงแฟลชไปบนเวทีโดยผ่านกลุ่มควันไม่ว่าจะเป็น Dry ice หรือควันบุหรี่ ทำให้ภาพออกมาไม่สวย แต่ถ้ามันอยู่ด้านหลังของนักดนตรีอันนี้ภาพจะออกมาสวยงาม
Guy Prives 9.jpg
จับจังหวะสปอตไลท์ให้ดี เมื่อเราอยู่ในที่มืดๆไกลจากเวที ไม่สามารถใช้แฟลชได้ เราต้องรอไฟจากสปอตไลท์ยิงมาที่ตัวนักดนตรี ทำให้ภาพออกมาน่าสนใจมาก เราไม่ได้จะถ่ายภาพสารคดี ไม่จำเป็นต้องเห็นทุกรายละเอียด 
IMG_4593.jpg
เราสามารถใช้ลูกเล่น Silhouette ได้ในกรณีแบบนี้ แม้ว่าเลนส์เปิดกว้างๆไม่ได้ การถ่ายภาพ Silhouette ช่วยท่านได้ วัดแสงที่ฉากหลัง ก็เก๋ไปอีกแบบ แต่ต้องโฟกัสแม่นๆ ไปที่ตัวนักดนตรี ถ้าโฟกัสยาก ก็ใช้ manual focus ปรับด้วยมือเอา
Guy Prives 10.jpg
แสงไฟบนเวทีมักจะเป็นแสงสีแดงเสียเป็นส่วนมาก เราก็ต้องไปแก้ด้วย Software ในภายหลัง ซึ่งเราต้องถ่ายใน Raw mode
carsitters-142.jpg
เราพูดกันถึงแต่เรื่องเทคนิคในการถ่ายภาพ การวัดแสงต่างๆที่เราไม่ควรลืมการถ่ายสไตล์ดราม่าด้วย การจัดองค์ประกอบภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียของช่างภาพแต่ละท่าน
การถ่ายภาพคอนเสิร์ต ไม่มีกฏตายตัว แต่ละคอนเสิร์ตก็ใช้แสงสี เทคนิคต่างๆกัน การถ่ายภาพแนวนี้ไม่ง่าย แต่ต้องใช้ประสบการณ์ เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม

1 ความคิดเห็น: